เกร็ดความรู้

เกณฑ์กำหนดของระดับเสียง
23 พฤศจิกายน 2566 15:21 น.

วัยแรงงาน หรือวัยทำงาน เป็นกลุ่มของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งในบางสาขาอาชีพ จะมีความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพ หนึ่งในผลกระทบนั้น คือ “เสียงดังจากเครื่องจักร ในโรงงานอุตสาหกรรม”

 

ผลกระทบ จากมลภาวะทางเสียง ที่มีผลต่อสุขภาพ แบ่งออกเป็น

  1. ผลกระทบทางจิตใจ จะส่งผลต่อความรู้สึก ความรำคาญ ส่งผลต่อการทำงาน รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงาน และความปลอดภัยในการทำงาน
  2. ผลกระทบทางร่างกาย ส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย โดยเฉพาะช่องหู ปวดแก้วหู หูอื้อ อาจทำให้สูญเสียการได้ยินได้ ถ้าได้รับเสียงดังมาก ในระยะเวลาพอสมควร

 

เสียงที่เป็นอันตราย องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่า เสียงที่เป็นอันตราย หมายถึง เสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบลเอ ที่ทุกความถี่ ส่วนใหญ่พบว่า โรงงานอุตสาหกรรมมีระดับเสียงที่ดังเกินมากกว่า 85 เดซิเบลเอ เป็นจำนวนมากซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทางกายและจิตใจ ของคนงาน

 

เสียงดัง เป็นระดับเสียง ที่มีความดัง มากกว่า 85 เดซิเบลเอขึ้นไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย ต่อระบบการได้ยิน ทั้งนี้กฎหมายแรงงาน ได้กำหนดให้ต้องควบคุมระดับเสียง ที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานในแต่ละวัน (Time Weighted Average-TWA) มิให้เกินมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

ในกรณีที่สภาวะแวดล้อม จากการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ มีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ย ตลอดระยะเวลาการทำงาน แปดชั่วโมง ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไป ให้นายจ้างจัดทำ โครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด

 

 

เกณฑ์กำหนดของระดับเสียงที่เป็นอันตราย

ก. กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดมาตรฐานของระดับเสียงในสถานประกอบการต่าง ๆ ไว้ดังนี้คือ

 

  1. ได้รับเสียงไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงติดต่อกันไม่เกิน 91 เดซิเบล(เอ)
  2. ได้รับเสียงวันละ 7-8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 90 เดซิเบล(เอ)
  3. ได้รับเสียงเกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 80 เดซิเบล(เอ)
  4. นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่ ๆ มีระดับเสียงเกิน 140 เดซิเบล(เอ) ไม่ได้

 

ข. องค์การอนามัยโลกได้กำหนดว่าระดับเสียงที่ดังเกินกว่า 85 เดซิเบล(เอ) ถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์

 

 

หากภายในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมง ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป จะต้องทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน

 

ซึ่งหากกล่าวถึงสินค้าของ GT Mover ก็ถือเป็นเครื่องจักรในอุตสาหกรรม โดยระดับเสียงของสินค้าแต่ละประเภทแบ่งได้ดังนี้

 

  1. รถลากพาเลทไฟฟ้า (Powered pallet trucks) ระดับเสียงสูงสุด 74 เดซิเบล(เอ)
  2. รถยกสูงไฟฟ้า (Powered stackers) ระดับเสียงสูงสุด 74 เดซิเบล(เอ)
  3. รถกระเช้าไฟฟ้า (Order pickers) ระดับเสียงสูงสุด 75 เดซิเบล(เอ)
  4. รถลากจูงไฟฟ้า (Towing trucks) ระดับเสียงสูงสุด 70 เดซิเบล(เอ)
  5. รถยกโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Forklifts) ระดับเสียงสูงสุด 74 เดซิเบล(เอ)
  6. รถยกสูงไฟฟ้าแบบยืนและแบบนั่ง (Reach trucks) ระดับเสียงสูงสุด 75 เดซิเบล(เอ)

 

จะเห็นได้ว่าสินค้าของ GT Mover มีระดับเสียงที่ไม่เกินกว่าเกณฑ์กำหนด ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน และเหมาะสมกับสถานประกอบการทุกอุตสาหกรรม

 

หากมีคำถามเพิ่มเติม ลูกค้าสามารถติดต่อทีมขายของ GT Mover เพื่อให้เราจะช่วยคุณค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณ ดังนี้

Email: info@gtm.co.th
Line@: @gtmover
Facebook: GTMoverThailand

 

อ้างอิง : https://www.liveforsound.com/dangerous-is-listen/

ข่าวสารทั้งหมด