เกร็ดความรู้

รถยกกับความชันของพื้นที่ใช้งาน
31 มีนาคม 2566 16:34 น.

ความหมายของความชัน
ถ้าการกล่าวถึงคำว่า "ความชัน" เรามักมีจินตนาการถึงพื้นที่ที่มีความสูงเพิ่มมากตามระยะทางแนวราบที่เปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อย เช่น ในกรณีของภูเขา และถนน หรือการหาความชันของกราฟที่มีความสัมพันธ์ระหว่างค่าในแกนนอนกับในแกนตั้ง ซึ่งการบอกความชันมักจะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วค่าที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์

การเห็นป้าย "ทางขึ้นลาดซัน" (steep climb) แสดงว่าทางข้างหน้ามีความลาดชันขึ้น อาจเป็นทางขึ้นเขา ขึ้นเนิน เป็นสันเขา หรือสันเนินโดยมีความลาดชันตามตัวเลขที่กำหนดเป็น "ร้อยละ"

ตามที่ระบุในป้ายซึ่งอาจบดบังสายตาทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นรถที่สวนมาได้ ยกตัวอย่างเช่น ข้างหน้าเป็นทางลาดขันขึ้นเขา และมีเลข 8% กำกับไว้ หมายถึง ระยะทางของเนินนี้หากมีความยาวในแนวราบเท่ากับ 100 เมตรจุดหมายปลายทางของการเดินทางจะอยู่สูงกว่าความสูงเดิม 8 เมตร (หรือเท่ากับ 8 หาร 100 คูณ 100 เท่ากับ 8%) ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นกรณีทางลงเขาและปรากฏเลข 8% ก็ให้คิดในลักษณะเดียวกัน เพียงเปลี่ยนจากระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น เป็นระดับความสูงที่ลดลงจากเดิมหากเป็นทางลาดซันมีเลขกำกับคือ 10% และ 15% ทางนั้นก็จะมีความชันที่มากขึ้น

เกี่ยวข้องกับรถยกอย่างไร
การทำงานด้วยรถยกในอุตสาหกรรมทุกวันนี้ มีความหลากหลายของสิ่งแวดล้อมในพื้นที่การทำงานที่เป็นปัจจัยต่อการเลือกรถยกให้เหมาะสมกับงานๆนั้นค่อนข้างเยอะ หนึ่งในนั้นคือ ความชันของพื้นที่ทำงาน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก หากความชันของพื้นที่ที่ทำงานสูงกว่าความสามารถในการไต่ทางชัน (Gradeability)ของรถยก รถยกก็ไม่สามารถขับเคลื่อนขึ้นไปเพื่อทำงานได้ ทั้งนี้ความสามารถในการไต่ทางชันของรถยก GT Mover จำแนกได้ดังนี้

  1. รถยกโฟล์คลิฟท์ (Forklift) ความสามารถในการไต่ทางชันสูงสุด 25%
  2. รถยกสูงไฟฟ้า (Electric reach truck) ความสามารถในการไต่ทางชันสูงสุด 15%
  3. รถยกพาเลทสูงไฟฟ้า (Electric stacker) ความสามารถในการไต่ทางชันสูงสุด 16%
  4. รถลากพาเลท (Electric pallet truck) ความสามารถในการไต่ทางชันสูงสุด 16%

 

อ้างอิง :
http://greenbikemsu.blogspot.com/2015/03/blog-post.html https://www.scimath.org/article-mathematics/item/12586-2022-02- 15-07-09-20

ข่าวสารทั้งหมด